เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic : Fun with math
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. นักเรียนเกิดทักษะทางคณิตศาสตร์
2. สามารถแก้ไขปัญหาโจทย์ต่างๆด้โดยไม่ต้องท่องสูตร แต่เกิดความเข้าใจโดยแท้จริง
3.มี visualization ในการมองแบบรูปในมิติต่างๆ เพื่อเข้าใจและสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาต่างๆได้

Week 4-5 : รูปทรงกระบอก



Web แสดงเนื้อหา เรื่อง "พื้นที่ผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิต 3 มิติ"


เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายการหาพื้นที่และปริมาตรของรูปทรงกระบอกได้
Week
input
Process
Output
Outcome


























4-5 





2-13 
มิ.ย. 2557
โจทย์
- พื้นที่และปริมาตรของรูปทรงเรขาคณิต
- พีระมิด ปริซึม ทรงกลม ทรงกระบอก ฐานสามเหลี่ยม สีเหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม ภาพคลี่
- พื้นที่และปริมาตรขอรูปทรงกระบอก

Key Questions
- จากปริซึมแต่ละประเภทนักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง
- นักเรียนคิดว่าหากจะต้องใช้แก้วน้ำตักน้ำเติมเหยือกน้ำให้เต็มจะต้องตักกี่ครั้ง


เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับ ลักษณะปริซึมรูปทรงต่างๆ พร้อมวิธีคิดเกี่ยวกับโจทย์ประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- ปริซึมประเภทต่างๆ
- เกม สัมพันธ์กันฉันภาพ”
- ภาพปริซึมประเภทต่างๆ
- เหยือกน้ำรูปทรงกระบอก
- แก้วน้ำ
- ปริซึมทรงกระบอกฐานวงกลม
- โจทย์ปัญหา
ชง : ครูให้นักเรียนดูปริซึมประเภทต่างๆ



- ครูใช้คำถามกระตุ้น “จากปริซึมแต่ละประเภทนักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนร่วม“เล่นเกม สัมพันธ์กันฉันภาพ”ซึ่งเกี่ยวกับให้นักเรียนแต่ละคนร่วมเสนอความคิดเห็น ว่าเมื่อเห็นปริซึมประเภทต่างๆ แล้วนึกถึงอะไร (จับเวลา ประเภทละ 3 นาที นักเรียนแต่ละคนเขียนชื่อสิ่งของนั้นลงในสมุด)
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้น “จากภาพนักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”


เชื่อม : นักเรียนร่วมวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็น
- ครูนำเหยือกน้ำรูปทรงกระบอก 1 ชิ้น และแก้วน้ำขนาดเล็ก 1 ใบ


ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าหากจะต้องใช้แก้วน้ำตักน้ำเติมเหยือกน้ำให้เต็มจะต้องตักกี่ครั้ง?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมตอบคำถามและร่วมทดลองพร้อมบันทึกผลลงในสมุดทดคิด
- ครูและนักเรียนร่วมทดลองและพูดคุยถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้น “ นักเรียนคิดว่า น้ำที่อยู่ในเหยือกนี้มีปริมาตรท่าใด?”
เชื่อม : ครูนำ ปริซึมทรงกระบอกฐานวงกลม มาให้นักเรียนได้ร่วมสังเกตคุณสมบัติ ร่วมการวิเคราะห์โจทย์

       
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และเสนอวิธีคิดของตนเอง พร้อมบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดทดคิด
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าหากปลากระป๋องยี่ห้อหนึ่งบรรจุในกระป๋องทรงกระบอก 35 Cm. รัศมีของฐานยาว 5 Cm.ฉลากปิดด้านข้างจะมีพื้นที่อย่างน้อยเท่าใด?”
เชื่อม : นักเรียนร่วมวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นพร้อมบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสมุดทดคิด



ภาระงาน
- “เล่นเกม สัมพันธ์กันฉันภาพ”
- ร่วมวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปริซึมประเภทต่างๆ
- ร่วมทดลองพร้อมบันทึกผลในกิจกรรม “ตักน้ำใส่เหยือก”
- วิเคราะห์ภาพคลี่ของปริซึมทรงกระบอกฐานวงกลม
- วิเคราะห์โจทย์ปัญหา และออกแบบโจทย์ประยุกต์

ชิ้นงาน
- สมุดทดคิด บันทึกผลการทดลองและกระบวนการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา
- โจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับการหาพื้นที่ ปริมาตร และภาพคลี่ของรูปทรงต่างๆ
ความรู้
- การหาพื้นที่และปริมาตรขอรูปทรงกระบอก
- การวิเคราะห์โจทย์ประยุกต์

ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
- สามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาโดยนำสิ่งที่เรียนมาปรับประยุกต์ใช้
ทักษะการให้เหตุผล
- สามารถให้เหตุผลสำหรับความสัมพันธ์จากผลการสังเกต และการทดลองในกิจกรรม “ตักน้ำใส่เหยือก”
ทักษะการแก้ปัญหา
- สามารถแก้ปัญหาโจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับการหารพื้นที่และปริมาตรของภาชนะรูปทรงต่างๆ
ทักษะการเห็นรูป
- มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างภาพคลี่ที่ประกอบขึ้นมาเป็นรูปทรงต่างๆ พร้อมทั้งวิธีการปริมาตรและพื้นที่
ทักษะการออกแบบจำลอง
- ออกแบบโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการหาพื้นที่ ปริมาตร ของ ปริซึมประเภทต่างๆ
ทักษะการเรียนรู้
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องเกี่ยวกับการหาพื้นที่และปริมาตร มาปรับใช้ในการวิเคราะห์โจทย์ใหม่ได้


คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน


ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู/ชิ้นงาน







1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    ในสัปดาห์นี้เป็นกิจกรรมการเรียนเรียนรู้ เกี่ยวกับการการพื้นที่และปริมาตรของทรงกระบอก โดยคุณครูเริ่มต้นกิจกรรมด้วยการพาพี่ๆ ร่วมทดลองตวงน้ำในภาชนะที่มีรูปทรงเป็นทรงกระบอก และใช้คำถามกระตุ้นการคิดต่างๆ อาทิเช่น “พี่ๆคิดว่าต้องใช้แก้วตักน้ำกี่ครั้งจึงจะทำให้น้ำเต็มเยือก?” ซึ่งทุกคนก็เกิดการคาดเดา มี 15 แก้วบ้าง 12 แก้วบ้าง 20 แก้วบ้าง แตกต่างกันออกไป แต่หลังจากที่ พี่บีมชุ และพี่กั๊ก ได้ทดลองตวงน้ำให้เพื่อนๆ ดู ปรากฏว่า ใช้น้ำเพียง 8 แก้วเท่านั้นค่ะ หลังจากนั้นคุณครูก็ถามคำถามต่อไปอีกว่า จากเหยือกที่คุณครูถืออยู่นี้ พี่คิดว่า มีรูป เรขาคณิตรูปไหนอยู่บ้าง พี่บีม อ “มีรูปวงกลม 2 รูปค่ะ อยู่ที่ปากเหยือกแล้วก็ที่ก้นเหยือก” เพื่อนๆ คนอื่นๆ ก็แสดงความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน คุณครูจึงถามต่อไปอีกว่า แล้วถ้าคุณครูใช้กรรไกรตัดเหยือกนี้ออกในทิศทางจากปากมาถึงก้นของเหยือก พี่ๆคิดว่าน่าจะเป็นรูปอะไร พี่ฟ้าวิ “น่าจะเป็น สี่เหลี่ยมจัตุรัสค่ะครู” คุณครูจึง ใช้กระดาษที่มีรูปร่างคล้ายกับทรงกระบอกของเหยือกน้ำ และตัดให้พี่ๆได้ร่วมสังเกต ปรากฏว่ารูปที่เกิดขึ้นคือ รูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้าค่ะ ต่อจากนั้น คุณครูก็เริ่มต้นให้พี่ๆ ดูความสัมพันธ์ต่างๆของรูปที่เกิดขึ้น อาทิเช่น ความสูง พื้นที่วงกลม เส้นรอบวง จากภาพที่เกิดขึ้น และนำเข้าสู่การหาปริมาตรของน้ำในเหยือกนี้ โดย พี่ฟิล์ม ได้ช่วยคุณครูวัดความสูงของน้ำในเหยือก ซึ่งเป็นตัวแปรที่ทราบคำตอบแล้ว ส่งผลให้ สามารถหาคำตอบอื่นๆได้อีกด้วย อาทิเช่น กาหาพื้นที่ผิวของทรงกระบอก การหาพื้นที่ทั้งหมดของทรงกระบอก รวมถึงการหาปริมาตรที่ได้ลองทำมาแล้วในขั้นต้น ในช่วงนี้ คุณครูและพี่ๆก็ได้ร่วมกันจัดระบบข้อมูลและสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกิจกรรมนี้ เพื่อให้เห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยการเขียนลงบนบอร์ด รวมถึงพี่ๆ ก็ได้บันทึกลงในสมุดบันทึกเล่นเล็กของพวกเขาด้วย คุณครูเพิ่มความเข้าใจให้กับพี่ๆ ด้วยการทดลองซ้ำอีกครั้ง ในรูปแบบภาชนะที่แตกต่างกันออกไป และให้ลองทำโจทย์ประยุกต์ต่างๆ ปิดท้ายด้วยการออกแบบโจทย์ และวิเคราะห์โจทย์นั้น เอง พร้อมได้ร่วมแชร์วิธีคิดให้กับเพื่อนและคุณครูได้ร่วมรับฟัง

    ตอบลบ